เมนู

ปัญหา 4 อุเทศ 4 ไวยากรณ์ 4 ปัญหา 5 อุเทศ 5 ไวยากรณ์ 5
ปัญหา 6 อุเทศ 6 ไวยากรณ์ 6 ปัญหา 7 อุเทศ 7 ไวยากรณ์ 7
ปัญหา 8 อุเทศ 8 ไวยากรณ์ 8 ปัญหา 9 อุเทศ 9 ไวยากรณ์ 9
ปัญหา 10 อุเทศ 10 ไวยากรณ์ 10 ครั้นจิตตคฤหบดีได้ถามปัญหาที่มี
เหตุผล 10 ข้อนี้กะนิครณฐนาฏบุตรเสร็จแล้ว ลุกจากอาสนะหลีกไป.
จบ นิคัณฐสูตรที่ 8

อรรถกถานิคัณฐสูตรที่ 8



พึงทราบวินิจฉัยในนิคัณฐสูตรที่ 8 ดังต่อไปนี้.
บทว่า เตนุปสงฺกมิ ความว่า ถามว่า จิตตคฤหบดี เป็นอริย
สาวก ชั้นอนาคามีบุคคล ผู้มีอาคมอันถึงแล้ว รู้คำสอนแจ่มแจ้งแล้ว เหตุไร
จึงเข้าไปหานิครนถ์เปลือยกายไม่มีมิ่งขวัญเล่า. ตอบว่า เพื่อปลดเปลื้อง
การว่าร้าย และเพื่อความรุ่งเรื่องวาทะ. ได้ยินว่า พวกนิครนถ์ ย่อมเข้าไป
ว่าร้ายว่า พวกสาวกของสมณโคดมเป็นเช่นตอไม้ตะเคียนอันแข็ง ย่อมไม่
ทำปฏิสันถารกับใครเลย จิตตคฤหบดี เข้าไปหาแล้ว เพื่อปลดเปลื้องการว่า
ร้ายนั้น และคิดว่า เราจักยกวาทะกับนิครนถ์นั้นดังนี้. บทว่า น ขฺวาหํ
เอตฺถ ภนฺเต ภควโค สทฺธาย คจฺฉามิ
ท่านแสดงว่า บุคคลใด
ย่อมไม่ทำให้แจ้งด้วยญาณ บุคคลนั้น พึงไปด้วยความเชื่อต่อบุคคลอื่นว่า
ได้ยินว่า สิ่งนั้น เป็นอย่างนั้น แต่สิ่งนั้น อันเราทำให้แจ้งแล้วด้วยญาณ.
เพราะฉะนั้น ข้าพเจ้า จึงไม่เชื่อต่อพระผู้มีพระภาคเจ้า ในข้อนี้ดังนี้
จึงกล่าวอย่างนี้.